หน้าแรก
สินค้า
Case
XIGMATEK
BitFenix
SAMA
Cooling System
Graphic Card (VGA)
BIOSTAR
OCPC
Power Supply
RAM
ACER
BIOSTAR
KIMTIGO
OLOy
SSD (Solid State Drive)
ACER
KIMTIGO
BIOSTAR
บริการ
บริการเครื่องเช่า
บริการรับซื้อ
การรับประกัน
การรับประกัน
ติดตามสถานะงานเคลม
ตรวจสอบระยะเวลาประกัน
ระยะเวลาประกัน
เกี่ยวกับเรา
ABOUT US
DISTRIBUTOR
Privacy Policy
การชำระเงิน
ติดต่อเรา
ตัวแทนจำหน่าย
หน้าแรก
สินค้า
COMPUTER HARDWARE (DIY)
Case
Cooling System
Graphic Card (VGA)
RAM
Power Supply
SSD (Solid State Drive)
บริการเครื่องเช่า
บริการช่วยเหลือ
การรับประกัน
ตรวจสอบระยะเวลาประกัน
ติดตามสถานะงานเคลม
ระยะเวลาประกัน
เกี่ยวกับเรา
ABOUT US
DISTRIBUTOR
Privacy Policy
การชำระเงิน
ติดต่อเรา
ตัวแทนจำหน่าย
Menu
หน้าแรก
สินค้า
COMPUTER HARDWARE (DIY)
Case
Cooling System
Graphic Card (VGA)
RAM
Power Supply
SSD (Solid State Drive)
บริการเครื่องเช่า
บริการช่วยเหลือ
การรับประกัน
ตรวจสอบระยะเวลาประกัน
ติดตามสถานะงานเคลม
ระยะเวลาประกัน
เกี่ยวกับเรา
ABOUT US
DISTRIBUTOR
Privacy Policy
การชำระเงิน
ติดต่อเรา
ตัวแทนจำหน่าย
Search
QLC ข้อดี VS ข้อด้อย รู้ไว้ก่อนซื้อ
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากระแสข่าวเรื่อง SSD ราคาถูกได้กลายเป็นข้อถกเถียงกันในหมู่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ว่ามันดีจริงหรือไม่ แล้วเทคโนโลยี QLC ที่มีอยู่ใน SSD ราคาประหยัดเหล่านั้นมันแตกต่างจาก MLC หรือ TLC ใน SSD ส่วนใหญ่ในปัจจุบันอย่างไร ไปหาคำตอบกันครับ
ความจริงแล้วราคาที่ลดต่ำลงของ SSD ส่วนหนึ่งคือกลไกตลาดตามอุปสงค์และอุปทาน เมื่อมีการผลิต SSD จำนวนมากเพื่อป้อนตลาดผู้ใช้งานทั่วไปที่ขยายตัวมากขึ้น ต้นทุนก็ต่ำลง ทำให้ราคาขายถูกลงได้ ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แนวโน้มของราคา SSD ลดลงแบบก้าวกระโดนชัดเจนเมื่อเทียบกับความจุที่ได้รับมากขึ้น ก็คือการมาถึงของเทคโนโลยีที่เรียกว่า QLC (Quad-Level Cell) ที่เรากำลังจะพูดถึงในครั้งนี้นั่นเอง
ทำความรู้จักชนิดของ NAND-Flash ก่อนจะเป็น QLC
แม้ SSD จะมีข้อดีคือมีอัตราการอ่าน-เขียนข้อมูลที่รวดเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์แบบจานแม่เหล็กหลายเท่า แต่ข้อจำกัดที่ทำให้หลายคนลังเลที่จะเปลี่ยนมาใช้คือ ”ความจุ” ที่โดยส่วนใหญ่มักจะมีให้เลือกระหว่าง 64-250GB โดยข้อแม้สำคัญคือพอจะจ่ายไหว เพราะ SSD ในยุคแรกๆ จะใช้เทคโนโลยีการเรียงเซลล์หน่วยความจำ NAND Flash แบบ SLC (Single-Level Cell) ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด คือมีอัตราการอ่าน-เขียนได้เร็วที่สุดเพราะแต่ละเซลจะเก็บข้อมูลได้เพียง 1 บิต และสามารถบันทึกซ้ำได้มากที่สุด (P/E ประมาณ 100,000 รอบ) ซึ่ง SSD ชนิดนี้จะมีราคาแพงมาก และสงวนไว้สำหรับผู้ใช้งานระดับมืออาชีพเท่านั้น
ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีการเรียงเซลล์หน่วยความจำ NAND แบบ MLC (Multi-Level Cell) ที่ตอบโจทย์ด้านประสิทธิภาพ และราคาต่อความจุที่ถูกลง ราคาพอจับต้องได้ โดยแต่ะเซลจะสามารถเก็บข้อมูลได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 บิต แต่ความเร็วในการอ่านเขียนและความสามารถในการบันทึกซ้ำก็จะลดลงไปด้วย (P/E ประมาณ 3,000 -10,000 รอบ)
ถัดจาก MLC เทคโนโลยี NAND ยังถูกพัฒนาต่อเป็น TLC (Triple-Level Cell) หรือสามารถเก็บข้อมูลได้ 8 บิต/เซล โดย SSD ที่ใช้เทคโนโลยีนี้จะเน้นเรื่องความประหยัด เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไป ในขณะที่รวามเร็วในการอ่านเขียนอยู่ในระดับพอใช้ (แต่ก็ยังเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ปกติอยู่ดี) แต่ก็ต้องแลกกับความสามารถในการบันทึกข้อมูลซ้ำได้เพียง 500-1,000 รอบ
แล้ว QLC ดีไหม เหมาะกับการใช้งานประเภทใด
เทคโนโลยี Quad-Level Cell (QLC) เป็นการเรียงเซลล์หน่วยความจำ NAND แบบ 4 เลเยอร์ คือ 1 เซลเก็บข้อมูลได้ 4 บิต (0000 ถึง 1111) ดังนั้นความจุจึงเพิ่มขึ้นหลายเท่าในราคาถูกกว่าเดิมมาก ความเร็วใกล้เคียงกับ TLC แถมยังกินพลังงานน้อยลงมาเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ความจุเท่ากัน
อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของ QLC ที่ต้องรู้ไว้เลยก็คือประสิทธิภาพในการอ่าน-เขียนจะลดต่ำลงมาก หมายความว่าความสามารถในการเขียนข้อมูลซ้ำในเซลเดิมจะทำได้น้อยลงหลายเท่าเมื่อเทียบกับ TLC โดยการคาดเดาของผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศระบุว่า SSD แบบ QLC อาจเขียนข้อมูลซ้ำ (P/E) ในแต่ละเซลได้เพียง 150 รอบ แต่เรื่องนี้ก็ไม่ต้องเป็นห่วงเพราะทางผู้ผลิตทั้งหลายได้สรรหาเทคนิคและวิธีการที่จะทำให้แต่ละเซลถูกใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ทั้งหมดทั้งปวง ด้วยข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีดังที่กล่าวมา ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ SSD แบบ QLC จึงควรพิจารณาวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้งาน เพราะโดยหลักการแล้วมันถูกออกแบบมาเพื่องานประเภทที่เขียนข้อมูลน้อย แต่อ่านข้อมูลมาก (Write Once, Ready Many) เช่น บริษัทหรืออุตสหกรรมใหญ่ๆ ที่ต้องจัดการกับ Big Data และเคยใช้ฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนประสิทธิภาพสูงสำหรับจัดเก็บข้อมูลแบ็กอัพ QLC จะเข้ามาตอบโจทย์ด้านราคาและความจุได้เป็นอย่างดี และแบบ 15K และ 10K จะได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป?
หากต้องการนำ QLC SSD มาใช้เป็นไดรฟ์หลักสำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการวินโดวส์ อาจต้องพิจารณารูปแบบการใช้งานเป็นอันดับแรก หากใช้งานพื้นฐานทั่วไป ใช้งานวันละไม่กี่ชั่วโมง ไม่ลบและติดตั้งโปรแกรมใหม่บ่อยๆ QLC ก็อาจสามารถตอบโจทย์ในเรื่องประสิทธิภาพและราคาได้ และจะยิ่งเหมาะมากถ้านำไปใช้เป็นไดรฟ์เก็บข้อมูลรูปภาพ เพลง ภาพยนตร์ ฯลฯ แต่ถ้าคุณเป็นผู้ใช้งานตัวยง ชอบทดลองโปรแกรมใหม่ๆ ชอบเล่นเกม ใช้โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ ตกแต่งรูปภาพ เป็นกิจวัตร QLC ก็ไม่น่าจะใช่ตัวเลือกที่เหมาะสม
แหล่งที่มาข้อมูล www.overclockzone.com
หาซื้อ SSD QLC ได้ที่ไหน?
ปัจจุบันมีผู้ผลิตชิปหน่วยความจำที่ประกาศว่าจะพัฒนา SSD แบบ QLC ออกสู่ตลาดหลายราย บริษัท ทรีบี อินเตอร์เทรด (ประเทศไทย) จำกัด ประกอบธุรกิจจัดจําหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทสินค้าไอที อุปกรณ์ต่อพ่วงคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ โดยบริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนจัดจําหน่ายสินค้าจากผู้ผลิตที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ชั้นนํา หลากหลายแบรนด์ดัง เรามีช่องทางการจําหน่ายสินค้าทั้งหน้าร้าน และทางออนไลน์
https://www.3b.co.th/
จัดส่งครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ มีผลิตภัณฑ์นําสมัยที่จัดจําหน่ายแบบครบวงจร
FEATURED